
![]() |
---|
episodes
อพท ขอเชิญทุกท่านรับชมการบรรยายสาระดีๆและมุมมองใหม่ๆ
จากเหล่ากูรูด้านการทำธุรกิจและบรรจุภัณฑ์อาหาร
25
PART 1 "SOUL BUSINESS"
ผู้บรรยาย ผศ.ดร.บัณฑิต อินณวงศ์
+ผู้อํานวยการศูนย์นวัตกรรมอาหารแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร
+อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
+ผู้ก่อตั้ง บ้านแห่งนวัตกรรม (ร่วมมือกับTCDC)
คุณอนุชิต ปัญญาวัชระ
+บริษัทยินดี โค-ครีเอท จำกัด
PART 1.1 "SOUL TO SALE"


Ep.1 - คุณรู้จักธุรกิจตัวเอง...ดีพอหรือยัง

Ep.2 - คุณรู้จักลูกค้าคุณ...มากพอหรือยัง

Ep.3 - ทำไม...ประสบการณ์ลูกค้าถึงมีความสำคัญกับธุรกิจเรา

Ep.4 – บริหารธุรกิจ...ด้วยการหว่านเสน่ห์
EP.1 คุณรู้จักธุรกิจตัวเอง...ดีพอหรือยัง
อะไรคือ Soul Business จิตวิญญาณของการทำธุรกิจสำคัญยังไง Soul Business จะเป็นพลังชีวิตในการดำเนินธุรกิจ เพราะสิ่งใดที่ทำด้วยใจรักใช้จิตวิญญาณร่วมทำ จะทำได้ดี ทำอย่างมีความสุขและจบประสบความสำเร็จ จึงจำเป็นที่จะต้องหาแก่นให้เจอ
EP.2 คุณรู้จักลูกค้าคุณ...มากพอหรือยัง
การสะท้อนความคิด หาคำตอบให้ Soul Business โดยให้สะท้อนจากลูกค้า เขารู้จักเราได้อย่างไร ทำไมถึงชอบหรือไม่ชอบสินค้าของเรา ข้อมูลจากลูกค้าทำให้เราทราบว่าทำไมคนอื่นถึงรู้จักเรา วิธีสะท้อนความคิดจากลูกค้า จะสะท้อนให้เห็นถึงประสบการณ์ที่ลูกค้ามาใช้บริการ และจะนำมาใช้ในการพัฒนาธุรกิจ
การนำประสบการณ์ของลูกค้าที่เขาใช้บริการหรือซื้อสินค้าของเรา มาพัฒนาแผนธุรกิจและใช้ในการออกแบบธุรกิจเราเองที่จะช่วยให้ตอบโจทย์มากขึ้น ลูกค้าแต่ละคนมี Mindset ที่แตกต่างกัน จริตของลูกค้าก็แตกต่างกัน เราต้องดูว่าเรามีอะไรที่จะไปนำเสนอเขาได้
EP.3 ทำไม...ประสบการณ์ลูกค้าถึงมีความสำคัญกับธุรกิจเรา
EP.4 บริหารธุรกิจ...ด้วยการหว่านเสน่ห์
การสร้างวิถีการท่องเที่ยวที่สร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า ผ่านการเสพตัวสินค้าและบริการที่ชุมชนออกแบบ
ผลิตภัณฑ์คือ ทูตที่นำเสนอและสื่อสารกับลูกค้า นิยาม "เมืองรอง" คือ เมืองใหม่ที่น่าค้นหา โอกาสใหม่ๆ ผู้ประกอบการควรหาอะไรใหม่ๆ มานำเสนอ การมีชุมชนต้นแบบก็มักจะมีชุมชนเลียนแบบ แต่เวลาที่เลียนแบบไปแล้ว แต่มันไม่เหมาะกับชุมชนตัวเองมันก็ขายไม่ได้ อยากให้ผู้ประกอบการ นำจิตวิญญาณและวิถีชีวิตของชุมชนออกมานำเสนอเป็นสินค้า โดยตะหนักถึงความยั่งยืนของชุมชนด้วย
EP.5 เปลี่ยนแก่น...เป็นจุดแกร่ง
กระบวนการพัฒนาออกแบบสินค้า การเดินทางคือการออกไปใช้ชีวิตข้างนอกและได้ประสบการณ์
ไปเที่ยวแล้วได้อะไร ไปร้านนี้แล้วได้อะไร อาหารอาจจะไม่อร่อย แต่สถานที่สวยถ่ายรูปได้ เลยอยากไปถ่ายรูปแม้จะต้องจ่ายค่ากาแฟที่แพง สิ่งที่ลูกค้าได้คือ การมีความสุขที่ได้ไปถ่ายรูปสวยๆ ลง Social
พื้นฐานของมนุษย์คือ จ่ายเงินเพราะต้องการบางอย่าง เราต้องจับให้ได้ว่าเขาต้องการอะไรเพื่อที่จะได้พัฒนาสินค้าให้ตรงความต้องการ
การทำธุรกิจ ต้องคิดให้ละเอียดรอบด้าน คิดยังไงให้แตกต่าง คิดยังไงให้มีเสน่ห์ สินค้าสามารถถูกลอกเลียนแบบได้ง่าย แต่จิตวิญญาณไม่สามารถถูกลอกเลียนแบบได้ ต้องจับเสน่ห์ใส่เข้าไปในสินค้า จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมอง Soul Business
การทำธุรกิจแบบมีจิตวิญญาณในแบบที่คุณเป็น จะไม่เหนื่อยและมีความสุข ธุรกิจจะโตอย่างรวดเร็ว การทำธุรกิจที่ดีจะต้องไม่เป็นเงาใคร เราจะต้องเป็นตัวของตัวเอง
PART 1.2 "SOUL TO SUSTAINABILITY "


Ep.6 Part1-คุณค่าของธุรกิจ จากบรรพบุรุษ (กรณีศึกษา Banana Society)

Ep.7 Part2-คุณค่าของธุรกิจ จากบรรพบุรุษ (กรณีศึกษา Banana Society)

Ep.8 - การบริหารความโลภ กระจายความเหนื่อย (กรณีศึกษา น้ำตาลมะพร้าว จ.สมุทรสงคราม)

Ep.9 - ของดี ที่หายไป (กรณีศึกษา ลางสาด จ.อุตรดิตถ์)
EP.6-7 คุณค่าของธุรกิจ จากบรรพบุรุษ (กรณีศึกษา Banana Society)
EP.8 การบริหารความโลภ กระจายความเหนื่อย (กรณีศึกษา น้ำตาลมะพร้าว จ.สมุทรสงคราม)
ปัญหาของผู้ประกอบการ มักจะแบ่งได้คร่าวๆ อยู่ 4 ประเภท
1 ต้องการยืดอายุสินค้า
2 ต้องการรูปแบบใหม่ๆ
3 ป้องกันการเปลี่ยนแปลงของ สี กลิ่น ของอาหาร
4 เปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์
กรณีศึกษา Banana Society (ผลิตภัณฑ์กล้วยตาก) มีสินค้าที่ดี ต้องการเพิ่มยอดขาย แต่ยังหากลุ่มลูกค้าตัวจริงไม่เจอ นักวิชาการต้องเชื่อมโยงปัญหาที่จะแก้ กับนัยยะใหม่ๆ ต้องฟังความคิดเห็นทั้งด้านบวกและลบ เพื่อนำมาพัฒนาสินค้าและแก้ไขข้อบกพร่อง
จากการค้นหา Soul Business ประสบการณ์ที่มีคุณค่า สู่การออกแบบธุรกิจ การทำธุรกิจต้องมองที่ภาพรวม ว่าทำอย่างไรถึงจะทำให้ชุมชนอยู่รอด จึงต้องมีการบริหารความโลภของคนในชุมชนให้เท่ากันก่อน และกระจายความเหนื่อยโดยการแบ่งงานกันทำ ปกติธุรกิจการทำน้ำตาลมาพร้าวในครอบครัวเป็นการทำงานที่เหนื่อยทั้งวัน เนื่องจากต้องตื่นตั้งแต่ตี 3 เพื่อเก็บน้ำตาลมาเคี่ยว เก็บได้แล้วก็นำลงมาเคี่ยวต่อ บ่ายก็ต้องขึ้นต้นมะพร้าวเก็บกันอีกครั้ง จึงทำให้เหนื่อยทั้งวัน
หลังจากที่โลกได้พัฒนามากขึ้น ลูกหลานของครอบครัวได้ทิ้งกิจการนี้ไป ขายที่ดินของตัวเอง กิจกรรมการเก็บน้ำตาลก็หายไป จึงมีการรวมกลุ่มคนที่ยังอยากจะทำธุรกิจนี้ขึ้นมา และได้มีการบริหารความเหนื่อยโดยแบ่งหน้าที่กันในกลุ่มชุมชน เช่น กลุ่มคนหาฟืนมาเคี่ยวน้ำตาล กลุ่มคนปีนเก็บน้ำตาล กลุ่มคนเคียวน้ำตาล ผู้จัดการที่คอยบริหารงาน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเหนื่อยทั้งวันอีกต่อไป
ความเข้มแข็งของธุรกิจ มากจากการจัดการชุมชน และทำให้เป็นต้นแบบ
EP.9 ของดี ที่หายไป (กรณีศึกษา ลางสาด จ.อุตรดิตถ์)
EP.10 การพัฒนาสินค้าจาก สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (กรณีศึกษา ถั่วลายเสือ จ.แม่ฮ่องสอน)
จุดเริ่มต้นคือ ทางจังหวัดอุตรดิตถ์อยากแปรรูปลางสาด เพื่ออนุรักษ์ลางสาด ทางทีมวิจัยจึงต้องค้นหาปัญหาที่แท้จริงที่ทำให้ลางสาดหายไป ลางสาดหายไปเพราะผู้บริโภคไม่นิยม ไม่สนใจ เพราะรสเปรี้ยว มียางเยอะ ลองกองอร่อยกว่า
จึงมีการทำการวิจัยพบว่า การเก็บลางสาดต้องเก็บเกี่ยวที่ความสุกประมาณ 95% เพื่อให้ได้ลางสาดที่หวาน ต่อมาได้มีการทำวิจัยและแปรรูปลางสาดเป็นสินค้าต่าง ๆ ต้องรับฟังข้อมูลจากคนท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน รวมกับสำรวจข้อมูลทางการตลาด เพื่อที่จะแปรรูปออกมาเป็นสินค้าชนิดต่าง ๆ เพื่อตอบสนองตลาด
รากลางสาดช่วยเก็บความชื้นในผืนดินและช่วยยึดหน้าดิน การอนุรักษ์ลางสาดจึงเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย "ผลผลิตจากป่า รุกขเทวดาเลี้ยง"
โจทย์จากทางสำนักงานวิจัยแห่งชาติเกี่ยวกับถั่วลายเสือ เมื่อลงพื้นที่ลองชิมถั่ว พบว่า ถั่วแม้ว่าจะมาจากผู้ขายคนเดียวกันแต่รสชาติไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสน สาเหตุใดทำไมไม่เหมือน - เนื่องมาจากแหล่งที่มาไม่เหมือนกัน แม่ค้ารับถั่วมาจากหลายพื้นที่
ถ้าต้องการทำให้ถั่วลายเสือของแม่ฮ่องสอนเป้นตัวชูโรง ก็ต้องมองให้รอบด้านไปถึงทรัพยากรที่ปลูกนั้นๆ ต้องอนุรักษ์ทรัพยากร ดิน น้ำ สิ่งแวดล้อม สภาพภูมิศาสตร์ แม้แต่ความสูงจากระดับน้ำทะเล ก็มีผลต่อคุณภาพของถั่ว
ในกรณีนี้ ถั่วบนพื้นที่สูง (ห้วยปูลิง) จะมีคุณภาพดีกว่า ถั่วที่ปลูกในเมืองแม่ฮ่องสอน ถ้าผู้ประกอบการเข้าใจในตัววัตถุดิบ เช่น วัตถุดิบเกรดดี ก็นำไปผลิตสินค้าประเภทพรีเมียม วัตถุดิบเกรดไม่ดี ก็นำไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า
ก่อนทำธุรกิจ ท่านควรจะมองธุรกิจตัวเองว่าเป็นอย่างไร ผู้บริโภคมองท่านอย่างไร จึงจะเห็นทางที่จะปรับปรุงพัฒนาสินค้าเพื่อให้ประสบความสำเร็จ
© 2020 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)